ความหมายของ HIVQUAL
HIVQUAL
(Quality of HIV care) คือรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการดูแล ผู้ติดเชื้อ
โดยการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์
ในโรงพยาบาล
ความเป็นมาของ HIVQUAL Project
HIVQUAL Project
ริเริ่มและพัฒนาโดยสถาบันเอดส์ รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
 |
HIVQUAL Project ประยุกต์ปรัชญาหยิน-หยาง
ของประเทศจีนในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ คือ
คุณภาพของการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์เป็นกระบวนการต่อเนื่อง
มีความสมดุลย์ใน 3 องค์ประกอบได้แก่ การวัดผลการปฏิบัติงานการดูแลรักษา
(Performance Measurement (PM)) การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement (QI))
มีระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร
(Infrastructure) และกิจกรรมที่เสริมให้เกิดการพัฒนาได้เร็วและต่อเนื่อง คือ
การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning)
ซึ่งหมายความว่า
การพัฒนาคุณภาพบริการจะต้องทำควบคู่กันระหว่างการวัดผลการปฏิบัติงานการดูแลและการปรับปรุงคุณภาพ
ภายใต้บริบทของหน่วยงานที่ต้องสร้างความเข้มแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ
เช่น นโยบายขององค์กรและผู้บริหาร ทีมที่ปรึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพ
คณะกรรมการดำเนินงาน การทำงานเป็นทีม
ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการสนับสนุนการวัดผลการปฏิบัติงานและการปรับปรุงคุณภาพเป็นประจำและต่อเนื่อง
(Continuous quality improvement, CQI) |
การปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาด้านเอชไอวี/เอดส์ โดยรูปแบบ
HIVQUAL
เป็นรูปแบบการพัฒนาคุณภาพในหน่วยงาน
(HIVQUAL model)
เพื่อช่วยเหลือหน่วยงานให้มีแนวทางในการการพัฒนาคุณภาพการดูแลได้เองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ซึ่งรูปแบบนีประกอบด้วยวงล้อการดำเนินงาน 2 วง คือ
ระดับของการวางแผนเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการดำเนินงาน (HIV Quality Program)
ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน และ ระดับของการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ (Quality
Improvement Project) ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน
HIV Quality Program Cycle
แผนงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ (HIV Quality Program
Cycle) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. กำหนดและวางแผนงานพัฒนาคุณภาพ
-
ระบุหัวหน้า/ผู้นำทีม
และผู้มีส่วนร่วม
-
แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ
-
วางแผนงานพัฒนาคุณภาพ
-
กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานตามแผน
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ
-
สร้างระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน
-
ทบทวนข้อมูลการวัดผล
-
กำหนดทีมรับผิดชอบโครงการพัฒนาคุณภาพ
-
สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
3. ประเมินผลงานพัฒนาคุณภาพ
-
ประเมินประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาคุณภาพ
-
ประเมินการทำงานของทีม
-
เรียนรู้และตอบสนองต่อการปฏิบัติงาน
-
กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของโครงการ
Quality Improvement Project Cycle
การดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพการดูแลภายหลังการวัดผลการปฏิบัติงานการดูแลตาม HIVQUAL
Model มีการดำเนินงานในรูปโครงการ โดยมี 6 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
Review, Collect and Analyze Project Data
-
ทบทวนข้อมูล
-
ถูกต้อง,
มีอยู่จริงหรือไม่
-
ทราบข้อมูลพื้นฐาน,
ช่วยจัดลำดับความสำคัญของแผนกิจกรรม
-
รวบรวมข้อมูล
-
วัดอะไร,
วัดอย่างไร
-
วิเคราะห์ข้อมูล
-
นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 จัดสร้างทีมงาน
-
แนวทางการสร้างทีม
-
กำหนดบทบาทของสมาชิก
-
หัวหน้า
ผู้ประสานงาน ผู้ดำเนินการ
-
สร้างสัมพันธภาพภายในที
การเขียนบันทึกการดำเนินงานโครงการเพื่อให้ทีมเข้าใจตรงกัน
ขั้นตอนที่ 3 ทบทวนกระบวนการดำเนินงาน
-
เข้าใจกระบวนการทำงาน
-
ระบุสาเหตุของปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนการดำเนินงานและทดสอบการเปลี่ยนแปลง
-
กำหนดการเปลียนแปลงโดยใช้
วงล้อ PDSA
-
วางแผนการทดสอบ
-
ดำเนินการทดสอบตามแผน
ขั้นตอนที่ 5 คณะดำเนินงานประเมินผลที่ได้จากการดำเนินการร่วมกับผู้รับผิดชอบหลัก
-
สรุปผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ
-
การเขียนรายงาน,การนำเสนอ
-
จัดบอร์ด,โปสเตอร์,Website
ประเมินผลกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ
-
ผลการดำเนินงานได้ผลตามเป้าหมาย/วัตถุประสงค์หรือไม่
-
ควรขยายผลการดำเนินงานหรือไม่
ทั้งในระบบการดูแลรักษาด้านเอชไอวี หรือ ทั้งองค์กร
ขั้นตอนที่
6 ปรับระบบการดำเนินงาน
|