ตัวชี้วัด (Indicators) สำหรับวัดผลการปฏิบัติงาน    
        การกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีผลกับการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ทำให้สามารถวัดหรือประเมินผลการปฏิบัติงานการดูแลได้

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลการวัดผลการปฏิบัติงาน

          การวัดผลการปฏิบัติงานจะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่นำผลการวัดไปวิเคราะห์เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงคุณภาพต่อไป การนำเสนอผลการวัดในแต่ละตัวชี้วัดในแต่ละช่วงเวลาจะทำให้สามารถมองเห็นแนวโน้ม (Trends) ของการพัฒนาในแต่ละตัวชี้วัด และยังสามารถใช้เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในแต่ละตัวชี้วัดระหว่างหน่วยงานได้

ตัวชี้วัดของ HIVQUAL-T เวอร์ชั่น 5 ใช้วัดผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2553 (1 ต.ค. 52 - 30 ก.ย. 53 )

          เพื่อช่วยให้การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ให้ดี ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทางสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงได้จัดทำแผนงานเพื่อปรับปรุงตัวชี้วัดให้ทันสมัยและนำมาใช้วัดผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2553 (เริ่มวัดผลหลังสิ้นปีงบประมาณ 2553)
ซึ่งได้แบ่งกลุ่มตัวชี้วัดออกเป็น 5 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. การติดตามระดับ CD4
2. การติดตามหลังการกินยาต้านไวรัส รายละเอียดตัวชี้วัด
3. การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
4. การคัดกรองโรคร่วม แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลผู้ป่วยรายใหม่
5. การส่งเสริมสุขภาพ

และแบ่งตามหัวข้อตัวชี้วัดได้ดังต่อไปนี้
  1. การติดตามผล CD4
  2. การติดตามผล Viral Load
  3. การรับยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
  4. การรักษาด้วยยาต้านไวรัส
  5. การประเมิน ARV adherence
  6. การติดตามผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส
  7. การส่งตรวจเชื้อดื้อยา (Drug resistance) การรักษาล้มเหลว

    8. การคัดกรองวัณโรค
    9. การคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    10. การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
    11. การคัดกรอง CMV Retinitis
    12. การคัดกรองโรคตับอักเสบ B
    13. การคัดกรองโรคตับอักเสบ C
    14. การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพ (Prevention and Health promotion)

                       

ตัวชี้วัดของ HIVQUAL-T เวอร์ชั่น 4  (ใช้วัดผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2549-2552)

          ตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดผลการปฏิบัติงานการดูแลด้านการแพทย์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอและผู้ป่วยโรคเอดส์ผู้ใหญ่ ใช้ตัวชี้วัดหลัก 6 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเสริม 3 ตัวชี้วัด คัดเลือกมาจากแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย(HIV care guidelines) ของสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แผนงานเอดส์ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตามคำแนะนำของ US- CDC Guidelines และ Medical management of HIV infection มหาวิทยาลัยการแพทย์ Johns Hopkins ดังนี้

ตัวชี้วัดหลัก

  1. การติดตามผลการตรวจ CD4 และหรือ Viral Load (HIV status monitoring)
  2. การรักษาด้วยยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส PCP และ Cryptococcosis (Primary OI prophylaxis for PCP and Crypto)
  3. การได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (Antiretroviral therapy)
  4. การตรวจคัดกรองและการรักษาวัณโรค (Tuberculosis screening and treatment)
  5. การป้องกันการแพร่เชื้อในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี (Prevention with Positive)
  6. การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงติดเชื้อ (Pap smear screening)

ตัวชี้วัดเสริม

  1. การักษาด้วยยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส OI prophylaxis for Pennicilium, MAC
  2. การประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส (ARV adherence)
  3. การคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STI screening (Syphilis Chlamydia, Gonorrhea, Ulcer)

ตัวชี้วัดกำหนดเอง

          โรงพยาบาลสามารถกำหนดตัวชี้วัดที่ต้องการวัดผลขึ้นมาเองได้ตามความต้องการของโรงพยาบาล เช่น ประเด็นเกี่ยวกับทางด้าน การดูแลทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ หรือการดูแลทางด้านสุขภาพทางเลือก เป็นต้น 

 

 
       วัตถุประสงค์โครงการ
      

        ตัวชี้วัด (Indicators)

   
หน้าแรก